BenzSociety ศูนย์รวมพลคนรัก Benz

                                  www.benzsociety.com
 
HomeBenz ShoppingBenzSociety ShowBenz Option ClassifiedsWebboardOffice
Import CarsShow RoomCar Service •  Wheels & Tires  •  Car stereoHome/CondoGolf Society Benz TravelEntertainment
          » เทคนิคคนรักรถ » เกร็ดค...


  เกร็ดความรู้...เกียวกับน้ำมันเครื่อง
    [ 24/02/2009 ] - [ 1650 ]
 
เกร็ดความรู้ทั้งหมดเกียวกับน้ำมันเครื่อง
ชนิด - เกี่ยวข้องกับอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่อง
แบ่งเป็น 3 ชนิดหลัก โดยตัดน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐาน ซึ่งผลิตจากไขพืช-สัตว์ เพราะคุณภาพต่ำเกินไป แต่เพิ่มชนิดที่ 3 ขึ้นมา คือ น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ที่ได้จากการผสมน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์กับชนิดธรรมดา
น้ำมันเครื่องธรรมดา ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม แพร่หลายที่สุด กระป๋องบรรจุ 4-5 ลิตร ราคาประมาณ 300-600 บาท
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ผลิตจากการผสมน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ในอัตราส่วนที่เ

หมาะสม และแตกต่างกันออกไปในแต่ละรุ่น กระป๋องบรรจุ 4-5 ลิตร ราคาประมาณ 500-800 บาท
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานที่สังเคราะห์ขึ้นจากน้ำมันปิโตรเลียม กระป๋องบรรจุ 4-5 ลิตร ราคาประมาณ 800-2,200 บาท
ชนิดของน้ำมันเครื่องสามารถบอกได้เพียงคุณสมบัติด้านอายุการใช้งานเป็นหลัก ไล่เรียงกันลงมาจากน้อยไปหามาก และไม่ใช่บทสรุปว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ต้องมีคุณภาพโดยรวมดีกว่าน้ำมันเครื่องธร

รมดาเสมอไป เพราะยังต้องเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติด้านอื่นอีก เช่น ความลื่น การชะล้าง ฯลฯ จึงต้องดูที่เกรดคุณภาพและคุณสมบัติด้านอื่นด้วย
ปัจจุบันนี้ น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพตาม API สูงๆ เช่น API SJ / API SL /API CH-4 / API CI-4 ทั้งชนิดธรรมดา กึ่งสังเคราะห์ หรือสังเคราะห์ สามารถใช้งานเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 10,000 กิโลเมตร ในสภาพการใช้งานปกติ หากการจราจรติดขัดมากจริงๆ หรือเส้นทางมีฝุ่นมาก ก็อาจจะลดลงมาเหลือ 8,000 กิโลเมตรได้
โดยระยะทางข้างต้นได้ประยุกต์ลดลงตามสภาพอากาศ ฝุ่น และสภาพการจราจรของเมืองไทย ที่ดุเดือดกว่าหลายประเทศ ซึ่งน้ำมันเครื่องทุกชนิดมีอายุการใช้งานในต่างประเทศตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ยืนยาวกว

่านี้อีกประมาณ 20-100 เปอร์เซ็นต์ เช่น 10,000, 14,000 และ 20,000 กิโลเมตร ตามลำดับของชนิด
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แท้ และเทียม

เป็นชนิดสังเคราะห์ 100% หรือมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ข้างกระป๋องหรือไม่? การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องต้องเชื่อมั่นในแหล่งจำหน่าย ยี่ห้อ และหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของไทย เพราะไม่สามารถทดสอบคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องด้วยสายตาหรือการสัมผัส แต่ต้องทำการทดสอบในห้องทดลองทางเคมีเท่านั้น
การระบุข้างกระป๋องว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% ยังขาดความชัดเจนว่าน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปทุกหยดในกระป๋องนั้นมาจากการสังเคราะห์ 100% ทั้งตัวน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานและสารเพิ่มคุณภาพจริงหรือไม่ ถ้าเป็นเพียงการใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ 100% แต่เมื่อจะผสมสารเพิ่มคุณภาพบางตัวกลับไม่สามารถละลายได้ จึงต้องละลายผสมสารเพิ่มคุณภาพกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดธรรมดาในปริมาณน้อยๆ

ก่อน แล้วค่อยนำไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ น้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นก็ไม่ถือว่าทุกหยดได้จากการสังเคราะห์
น้ำมันเครื่องสำเร็จรูปที่ระบุว่าเป็นชนิดสังเคราะห์ 100% ส่วนใหญ่เลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ โพลีแอลฟาโอลีฟิน (POLYALPHAOLEFIN-PAO) ซึ่งไม่สามารถละลายสารเพิ่มคุณภาพบางตัวหรือละลายได้ไม่ดี จึงอาจมีการละลายสารเพิ่มคุณภาพด้วยน้ำมันหรือสารอื่นก่อนผู้ผลิตบางรายเน้นความประห

ยัด โดยนำสารเพิ่มคุณภาพไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดธรรมดาก่อน เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานจึงเกิดข้อกังขาว่า จะเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ได้อย่างไร ในเมื่อมีน้ำมันชนิดธรรมดาผสมอยู่ด้วยจากการช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพ
มีผู้ผลิตไม่มากนักที่ยอมลงทุนนำสารเพิ่มคุณภาพไปละลายกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดสังเครา

ะห์อื่นที่มีราคาแพง ไม่เหมาะกับการใช้งานในเครื่องยนต์รถยนต์ แต่ทำละลายได้ดี เช่น น้ำมันหล่อลื่นเครื่องบินเจ็ต (DIBASICESTER) เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ ก็จะกลายเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ทุกหยดจริงๆ ต่างจากกรณีแรกที่มีน้ำมันชนิดธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่ด้วย
ในการควบคุมและประชาสัมพันธ์ไม่มีการกำหนดว่า การระบุว่าสังเคราะห์ต้องเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% จริงๆ เพราะเน้นเพียงการใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานแบบสังเคราะห์แท้ๆเป็นหลักก็เพียงพอแ

ล้ว ส่วนกรณีที่ใช้น้ำมันหล่อลื่นชนิดธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่บ้าง ก็ไม่น่าจะเป็นการหลอกลวง เพราะมักจะใช้ในปริมาณน้อยมาก และถือว่าเป็นเพียงตัวช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพเท่านั้น
ในการเลือกใช้ ไม่ต้องกังวลว่าจะมีน้ำมันธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่ด้วยหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่มีปริมาณน้อยมาก และไม่น่าจะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมลดลง คุณภาพที่แท้จริงอยู่ที่น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานและสารเพิ่มคุณภาพที่ผู้ผลิตเลือก

ใช้มากกว่า กรณีที่มีการผสมน้ำมันธรรมดาเข้าไปในปริมาณมาก และไม่ได้เน้นแค่ช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพ ต้องถือว่าเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดกึ่งสังเคราะห์ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีการเปิดเผยกันว่ามีน้ำมันหล่อลื่นธรรมดาผสมอยู่กี่เปอร์เซ็นต์

ความหนืด - บอกอะไรเราบ้าง?
เกี่ยวข้องกับการสร้างชั้นเคลือบและการไหลเวียน
เป็นอัตราการไหลของปริมาณน้ำมันเครื่องต่อขนาดและความยาวของรู ต่อหน่วยเวลา ณ อุณหภูมิหนึ่ง เช่น น้ำมัน 60 ซีซี (ลูกบาศก์เซนติเมตร) ไหลผ่านรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.77 มิลลิเมตร ความยาวของรู 12.25 มิลลิเมตร ณ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสโดยมีหลายหน่วยการวัด เช่น ระบบเมตริก หน่วย cSt เซนติกโตส, สหรัฐอเมริกา หน่วย SUS, SSU วินาทีเซย์โบลต์, อังกฤษ หน่วย RW1 เรดวู๊ด และยุโรป E อิงเลอร์ โดยมีความแตกต่างกันในรายละเอียดและทุกอุณหภูมิการวัด
 
หน่วยการวัดข้างต้นเกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ล้วนมีความยุ่งยากในการจดจำ ไม่เป็นสากล และไม่สะดวกในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องทั่วโลก จึงมีสมาคมในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก กำหนดเกรดความหนืดที่สะดวกและชัดเจนขึ้นใหม่ และง่ายต่อการเลือกของผู้บริโภค เปรียบเทียบกับหลายหน่วยการวัดข้างต้นได้แม่นยำ หน่วยงานนั้นคือ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS โดยกำหนดใช้อักษรย่อ SAE ตามด้วยเกรดความหนืดเป็นตัวเลขจำนวนเต็มที่ลงท้ายด้วย 5 หรือ 0 เช่น 15, 30 หรือ 50 ฯลฯ เลขมากยิ่งหนืด เลขน้อยยิ่งใส เช่น 50 หนืดกว่า 40 และ 5 ใสกว่า 20 โดยวัดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (210 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องที่ไหลเวียนขณะเครื่องยนต์ทำงาน

ถ้าวัดที่ -18 องศาเซลเซียส (0 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิของอากาศในบางประเทศที่หนาวจัด เพื่อป้องกันปัญหาน้ำมันเครื่องหนืดเกินไปจนไหลไม่ไหว จะตามท้ายตัวเลขด้วยตัวอักษร W-WINTER เช่น 5W, 10W หรือ 20W ฯลฯ การเลือกน้ำมันเครื่องในไทย ให้สนใจตัวเลขเปล่าๆที่ไม่ได้ตามท้ายด้วย W เพราะไม่มีอุณหภูมิติดลบ อากาศปกติก็ 20-35 องศาเซลเซียสอยู่แล้ว
 
การเลือกใช้น้ำมันเครื่องในด้านเกรดความหนืด ต้องเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิอากาศทั่วไป และสภาพความหลวมของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ เพราะต้องมีความหนืดเหมาะสมต่อการไหลเวียนภายในเครื่องยนต์ เช่น ถ้าอากาศภายนอกเย็นจัด น้ำมันเครื่องก็ควรใส ไหลง่าย ในช่วงสตาร์ทเครื่องยนต์และยังไม่ร้อน ถ้าน้ำมันเครื่องหนืดเกินไปก็ไหลเวียนไม่ทัน และอาจทำให้เครื่องยนต์สึกหรอหรือพัง

หากอากาศร้อนหรือเมื่อเครื่องยนต์ร้อนแล้ว แต่น้ำมันเครื่องใสเกิน ก็จะมีชั้นเคลือบบางเกินไป ทำให้เกิดการสึกหรอ และสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องจากการเล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบหรือยางหมวกวาล์วได้ น้ำมันเครื่องทุกชนิดสามารถแบ่งแยกได้อีกโดยเกรดความหนืด คือ
- เกรดเดี่ยว-เกรดความหนืดเดี่ยว (SINGLE GRADE) และ
- เกรดรวม-เกรดความหนืดรวม (MUTI GRADE)

ตรารับรองมาตรฐานบอกอะไร?

บอกมาตรฐานที่ผ่านการรับรองของ API
บอกค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องตามมาตรฐาน SAE
บอกว่าน้ำมันเครื่องนั้นช่วยประหยัดเชื้อเพลิงด้วย

น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยว

เรียกสั้นๆ ว่า น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในภูมิประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้อย เช่น ร้อนหรือเย็นไปเลย ทั้งกลางวันกลางคืนและในฤดูต่างๆ น้ำมันเครื่องไม่สามารถปรับความหนืดให้เหมาะสมเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้ เช่น น้ำมันเครื่องเมืองหนาว ถ้านำมาใช้เมืองร้อนก็ใสเกินไปและไม่สามารถปรับตัวให้หนืดขึ้นได้ ส่วนน้ำมันเครื่องเมืองร้อน ถ้านำมาใช้เมืองหนาวก็ข้นเกินไป ไหลไม่ไหว และไม่สามารถปรับตัวให้ใสได้ จำเป็นต้องเลือกใช้ให้ตรงกับอุณหภูมิ เมืองร้อนจะเลือกใช้น้ำมันเครื่องของเมืองหนาวเกรดความหนืดเดี่ยวที่วัดและระบุเป็น SAE ?W ไม่ได้
สำหรับน้ำมันเครื่องเมืองร้อน มีการผลิตและวัดความหนืดที่ 100 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวอักษรย่อ SAE ตามด้วยตัวเลขเปล่าๆ เช่น SAE 20 น้ำมันเครื่องเมืองหนาว มีการผลิตและวัดความหนืดที่ -18 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวอักษรย่อ SAE ตามด้วยตัวเลขและอักษร W เช่น SAE 10W ปัจจุบันน้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยวได้รับความนิยมน้อย เพราะผู้ผลิตหันไปทุ่มเทกับน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวมซึ่งสามารถจำหน่ายได้ทั่วโล

กทั้งเมืองร้อนเมืองหนาว
น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวม

เรียกสั้นๆ ว่า น้ำมันเครื่องเกรดรวม ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในภูมิประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากในแต่ละช่วงเวลาหรือฤ

ดู หรือผลิตสูตรเดียวแต่สามารถจำหน่ายได้ทุกภูมิภาคทั่วโลก น้ำมันเครื่องเกรดรวมสามารถปรับหรือคงความหนืดให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานทุกอุณหภูมิได้ เมื่อร้อนจะปรับตัวให้หนืด และถ้าเย็นลงจะปรับตัวให้ใส

โดยมีการผลิตและวัดความหนืด ณ 2 อุณหภูมิ คือ ที่ -18 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวเลขตามหลังด้วยตัวอักษร W เช่น 10W และที่ 100 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวเลขเปล่าๆ เช่น 20 แล้วนำมาระบุรวมกันตามหลังตัวอักษรย่อ SAE โดยนำการวัดที่ -18 องศาเซลเซียสนำหน้าแล้วคั่นด้วยเครื่องหมาย - เช่น SAE 20W-50 การผลิตน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวมให้สามารถปรับความหนืดได้ เมื่อร้อนแล้วหนืด เย็นแล้วใส ต้องมีการเติมสารปรับความหนืด ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้สารโพลีเมอร์ ที่เป็นโมเลกุลสายยาว เมื่อเย็นจะหดตัว น้ำมันเครื่องจึงใส ถ้าร้อนจะขยายและยืดตัวออก ทำให้น้ำมันเครื่องข้นขึ้นโพลีเมอร์
แม้จะทำให้น้ำมันเครื่องสามารถปรับความหนืดได้ แต่เมื่อผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง โมเลกุลสายยาวของโพลีเมอร์มักจะขาดออกจากกัน เมื่อร้อนการขยายตัวจะน้อยลง และทำให้น้ำมันเครื่องมีความหนืดลดลงบ้าง ต่างจากน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยวในมาตรฐานเดียวกันซึ่งไม่มีการเติมสารโพลีเมอร์ จะคงความหนืดเมื่ออายุการใช้งานผ่านไปได้ดีกว่า

ตัวเลขที่ระบุความหนืด ลงท้ายด้วยตัวอักษร W วัดที่ -18 องศาเซลเซียส ตามด้วยตัวเลขเปล่าๆ วัดที่ 100 องศาเซลเซียส เช่น SAE 10W-50 ยิ่งมีตัวเลขห่างกัน เช่น 10 กับ 50 เกินกว่า 35 (50-10) แสดงว่าน้ำมันเครื่องนั้นสามารถปรับความหนืดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้มาก ปรับตัวให้ใสหรือข้นได้มากแต่เมื่อผ่านการใช้งานไปแล้ว ความหนืดของน้ำมันเครื่องเมื่อร้อนหรือ
ประมาณ 100 องศาเซลเซียส มีแนวโน้มว่าจะลดลงได้เร็วกว่าน้ำมันเครื่องที่มีเลขเกรดความหนืดห่างกันน้อยๆ เช่น ตามตัวอย่างจากเดิม SAE 10W-50 ความหนืดอาจเหลือเทียบได้เป็น SAE 10W-40

ปัจจุบันน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวมได้รับความนิยมทั้งในการผลิตและใช้งาน เพราะครอบคลุมทุกอุณหภูมิ ทั้งที่ในบางประเทศที่อุณหภูมิไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงอย่างไทย สามารถเลือกใช้น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยวได้ก็ตาม อากาศในไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 20-35 องศาเซลเซียส และเครื่องยนต์ก็ร้อนมาก หากเลือกใช้น้ำมันเครื่องเมืองหนาว ไม่ว่าเกรดความหนืดเดี่ยวหรือรวม การวัดค่าความหนืดตามตัวอักษรย่อ SAE และลงท้ายด้วยตัวอักษร W ที่ -18 องศาเซลเซียส จะไม่เกี่ยวข้องและไม่ต้องสนใจ ให้ดูที่การระบุความหนืดด้วยตัวเลขเปล่าๆ เป็นหลัก

การเลือกความหนืดของน้ำมันเครื่องให้ดูจากคู่มือประจำรถยนต์ แล้วใช้ให้ตรงตามกำหนด โดยเน้นเฉพาะตัวเลขที่ไม่ได้ตามด้วยตัวอักษร Wแต่ถ้าไม่มีคู่มือให้เลือกตามนี้ เมืองไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนมาก และไม่มีติดลบ สามารถเลือกใช้น้ำมันเครื่องทั้งแบบเกรดความหนืดเดี่ยวและเกรดความหนืดรวมสำหรับเมืองร้อน
 โดยสนใจค่าความหนืดเฉพาะค่า SAE ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยตัวอักษร W เป็นความหนืด 40 หรือ 50
เครื่องยนต์ใหม่ไม่เกิน 50,000-100,000 กิโลเมตร สามารถใช้น้ำมันเครื่องความหนืด SAE 40 ใสหน่อยได้ เพราะชิ้นส่วนยังไม่มีช่องว่างห่างมากนัก และอนุโลมให้ใช้ความหนืด 50 ได้ ส่วนเครื่องยนต์ที่เริ่มเก่าหรือผ่าน 100,000 กิโลเมตรไปแล้ว ควรใช้ความหนืด SAE 50
หากเลือกใช้เองเป็นความหนืด SAE 40 ให้ดูด้วยว่ามีการกินน้ำมันเครื่องมากผิดปกติไหม (ไม่ควรเกิน 2,000-3,000 กิโลเมตรต่อน้ำมันเครื่อง 0.5-1 ลิตร) และมีควันสีขาวจากการเผาไหม้น้ำมันเครื่องที่เล็ดลอดเข้าห้องเผาไหม้ผสมออกมากับไอเสีย
หรือไม่ ถ้าผิดปกติให้เปลี่ยนไปใช้ความหนืด SAE 50

เครื่องยนต์ที่ผ่านการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง จะมีช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะแหวนลูกสูบ ลูกสูบ และกระบอกสูบ แม้จะใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดตามกำหนดในคู่มือประจำรถยนต์แล้ว ก็ควรดูว่าในการใช้งานจริงเครื่องยนต์มีการกินน้ำมันเครื่องผิดปกติไหม ถ้ามากควรเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดเพิ่มขึ้นสัก 10 เบอร์ เช่น เดิมใช้ SAE 30 ก็ขยับไปเป็น SAE 40 แล้วดูอาการซ้ำอีก ยังไม่ควรข้ามจาก SAE 30 ไปยัง SAE 50 หรือเปลี่ยนครั้งเดียวเพิ่มขึ้น 20 เบอร์ไปเลย
เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ถูกกำหนดให้ใช้น้ำมันเครื่องความหนืด SAE 40-50 ในช่วงแรก โดยมีรุ่นที่กำหนดให้ใช้ SAE 30 บ้างประปราย แต่เมื่อใช้งานเครื่องยนต์จนเกิน 100,000 กิโลเมตรไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็ควรเลือกใช้ SAE 40 หรือ 50 เพื่อให้ชั้นเคลือบของน้ำมันเครื่องหนาเหมาะสมกับระยะห่างของชิ้นส่วนต่างๆ

การใช้มันเครื่องใสเกินไป ทำให้ชั้นเคลือบของน้ำมันเครื่องบางเกินไปจนเกิดการสึกหรอมาก แต่ก็ทำให้เครื่องยนต์และปั๊มน้ำมันเครื่องรับภาระน้อยลง เพราะน้ำมันเครื่องไหลง่าย เครื่องยนต์ก็หมุนง่ายไม่หนืด เครื่องยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันนิยมใช้ความหนืดของน้ำมันเครื่องพอดีๆ หรือใสไว้หน่อย เน้นกำลังของเครื่องยนต์โดยไม่กลัวการสึกหรอ แต่สำหรับการใช้งานทั่วไป ไม่ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องใสเกินไป เพราะจะเกิดการสึกหรอมาก แต่ก็ไม่ควรใช้หนืดเกินไป เพราะถึงแม้ชั้นเคลือบจะหนา แต่น้ำมันเครื่องไหลยากอาจหมุนเวียนไม่ทัน และสร้างภาระจนทำให้เครื่องยนต์กำลังตกลง

ฉะนั้นการที่น้ำมันเครื่องที่มีตัวเลขข้างหลังน้อยกว่า ไม่จำเป็นครับที่ จะต้องมีคุณภาพที่ดีกว่าตัวเลขมาก เช่น 10w-40 จะดีกว่า 20w-50 แต่ผู้ผลิตน้ำมัน พยายามให้คนเข้าใจอย่างนั้น หรือบางคนเข้าใจเอาเองครับ เนื่องจากสินค้าที่มีในประเทศ จัดลำดับราคาไว้ที่ตัวหลัง แล้วเราก็จะมาวัดค่าที่ sm/sl/sg/sf ก็ยังไม่ได้ครับ สิ่งที่พี่อ่านมายึดยาวทั้งหมดมันกำลังจะมันตอนนี้แหละนะครับ

การที่จะได้มาตรฐาน sm/sl/sj/sf นั้นมันจะได้มาอย่างไร

การให้มาตรฐาน โดยผู้ที่ผลิตเบสออย เป็นคนออกให้ โดยผ่านมาตรฐานต่างๆที่รับรอง โดยหลักการที่ว่า ใครที่ซื้อเบสออยที่มีคุณภาพสูง ก็จะได้รับมาตรฐานสูงตามเบสออยนัน แล้วก็ไปทำการปรุง แล้วก็ได้มาตรฐานนั้นไป และอาจมีการตรวจสอบโดยให้ส่งตัวอย่างไปตรวจ
 ย้ำส่งไปตรวจนะครับ และก็มีการออกมาสุ่มตัวอยางบ้าง แต่ทั้งหมดเป็นความลับครับ เพราะเหตุผลที่ว่าเป็นความลับทางธุรกิจ ส่วนผสมจะบอกได้ไง เคยส่งสัยใหม่ครับ ว่าทำไมน้ำมันเครื่องบางยี้ห้อ คุณภาพเกรด sm ที่แปะไว้ข้างกระป๋อง ซึ่งเป็นเกรดสูงสุด และราคามันถูกจัง แต่พอใช้งานจริงสู้เกรดต่ำๆยี่ห้ออื่นไม่ได้ สาเหตุที่ได้มาตรฐานน้อย อาจเป็นเพราะวาสนามันต่างกัน บวกกับการโฆษณา และทุกๆสิ่งรวมกัน และมี 2 มาตรฐาน เกือบเหมือนนโยบาย lpg ข้อมูลกระทู้อื่นๆ เป็นไม่รวมกระทู้นี้ เป็น ข้อมูลจริงทั้งหมดครับเอาไปแนะนำให้ใครฟังก็ได้ครับ
น้ำมันเครื่องช่วยรักษากำลังอัดให้กับเครื่องยนต์ ได้อย่างไร

ลูกสูบ แหวนสูบ และกระบอกสูบ ซึ่งเป็นการบวนการสร้างแรงอัดให้กับเครื่องยนต์ แรงอัดยิ่งมาก ยิ่งได้กำลังงานมาก น้ำมันเครื่องมีส่วนในการแทรกเข้าไปในระยะห่าง ระหว่างแหวนสูบ - ลูกสูบ - กระบอกสูบ เป็นการป้องกันก๊าซที่เป็นส่วนผสมของเชื้อเพลิง กับอากาศ ไม่ให้เล็ดลอดผ่านช่องห่างระหว่างแหวน  ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์สูญเสียกำลังอัด ให้เล็ดลอดน้อยที่สุด เครื่องจึงจะมีกำลังอัดมากขึ้น การจุดระเบิดรุ่นแรงขึ้น มีกำลังมากขึ้น น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูง จะมีแผ่นฟิล์มเคลือบที่หนา การเลือกใช้ความหนืดของน้ำมันเครื่อง จะมีผลต่อค่าเคลียร์เลนซ์ ของช่องว่างระหว่างลูกสูบ แหวน และกระบอกสูบ จนถึงความสึกหรอหลังจากใช้งานแล้ว ดังนั้นการเลือกใช้เบอร์น้ำมันเครื่อง จึงต้องเหมาะสมกับระยะห่างต่างๆ ถ้าเบอร์หนืดไป กำลังอัดดี แต่แรงเสียดทานสูง อาจมีผลถึงกินน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเบอร์ใสไป ไม่เหมาะกับเครื่อง อาจทำให้กำลังเครื่องตก อาจถึงเครื่องพัง หรือเครื่องที่ผ่านการใช้งานนานจนเครื่องหลวม ระห่างระหว่าง แหวน ลูกสูบ กระบอกสูบมาก การใช้เบอร์น้ำมันเครื่องที่หนืดขึ้น เป็นผลถึงขั้นทำให้กำลังเพิ่มขึ้น การละเหยน้ำมันเครื่องต่ำ เสียงเครื่องยนต์เงียบลงได้

น้ำมันเครื่องมีส่วนในการชะล้างสิ่งสกปรกได้อย่างไร

สิ่งสกปรกในน้ำมันเครื่องเกิดขึ้นได้จาก

1 ฝุ่นผงเล็กๆที่เล็ดลอดมาทางไส้กรองอากาศ  อนุภาคเล็กๆพวกนี้ปะปนกับอากาศ แล้วเล็ดลอดเข้ามาสันดาป จะมีความแข็งเพิ่มขึ้น (นึกถึงเอาดินเหนียวมาปั้น แล้วเผาเป็นจาน-ไห) ไหม้กลายเป็นคาบอนแข็ง ซึ่งแหวนสูบจะทำการกวาดเอาสิ่งสกปรกพวกนี้กลับลงมาปะปนกับน้ำมันเครื่อง (ฉะนั้นพวกที่ชอบใส่ไส้กรองอากาศ คุณภาพไม่ดี หรือพวกกรองเปลือยเปลื่อยๆ หรือไส้กรองขาดๆ ต้องคิดให้ดี) เพราะฝุ่นเหล่านี้ ทำหน้าที่เหมือนผงขัด ขัดชิ้นส่วนต่างๆให้สึกหรอได้รวดเร็วมากขึ้น เครื่องก็จะหลวมเร็วขึ้น

2. เขม่าในการเผาไหม้ ที่เกิดจากการสันดาปของเครื่องยนต์ การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์มากเท่าไหร่ เขม่ายิ่งเกิดขึ้นได้มากเพียงนั้น

3. สารอันตรายต่างๆ จากการสันดาปของเครื่องยนต์ ก็คือไอน้ำ – กรด – ก๊าซ ต่างๆ สารอันตรายเหล่านี้ แหวนสูบก็จะกวาดลงมาปะปนกับน้ำมันเครื่องอีกเช่นกัน

4. เศษโลหะ จากชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์  ที่เกิดขึ้นจาการสึกหรอ จากการเสียดสีต่างๆ และหลุดออกมาเป็นชิ้นเล็กๆปะปนมากับน้ำมันเครื่อง ซึ่งเศษโลหะเหล่านี้มีความแข็ง พอที่จะไหลตามน้ำมันเครื่องแล้วไปทำลายชิ้นส่วนอื่นๆ หรือทุกๆส่วนในเครื่องยนต์ให้สึกหรอตามมา

5. คราบแข็งของฟิล์มน้ำมันเครื่อง ซึ่งเกิดการความร้อนของเครื่องที่สูง พอเครื่องเย็นตัวลงมา ฟิล์มบางๆพวกนี้ก็จะไหม้แข็งติด เกาะอยู่ตามชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ (แบบที่เปิดฝาครอบวาล์วมาเห็นเป็นคราบเหลืองๆดำๆเกาะอยู่) หรือแข็งติดอยู่ในร่องระยะห่างต่างๆ อุดตันระบบทางเดินน้ำมัน คราบพวกนี้มีความแข็งน้องๆกระดาษทราย ซึ่งจะค่อยๆหลุดออกปะปนมากับน้ำมันเครื่องอีกเช่นกัน
 
[ ส่งหน้านี้ให้เพื่อน ]                          
 


  รายการบทความ
สารพัน.ยางรถยนต์... ควรรู้ ..
ทำอย่างไร..เมื่อต้องขายรถตัวเอง ..
10 สัญญาณเตือนภัยของรถคุณ ..
ยางระเบิด ..ปัญหาร้ายแรงที่สุดขณะขับรถ ..
การดูแลรักษาเครื่องยนต์..ระยะเวลา/ระยะทาง ..
เกร็ดความรู้เ....มื่อขับรถยนต์ลุยน้ำ ..
ความรู้เรื่อง ...น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ..
เกร็ดความรู้น้ำมันเครื่อง... เรื่องมาตรฐานน้ำมันเครื่อง ..
ความรู้เรื่อง ..น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ..
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ...รถควันดำ ..
การทำงานของ...แบตเตอร์รี่ ..
เกร็ดความรู้...เกียวกับน้ำมันเครื่อง ..
การขับรถยนต์ให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ..
ภัยที่เกิดขึ้นจากขวดนำดื่มในรถ ..
การดูแลรักษารถกับการเตรียมพร้อมเมื่อเข้า...ฤดูฝน ..
ดูทั้งหมด »