BenzSociety ศูนย์รวมพลคนรัก Benz

                                  www.benzsociety.com
 
HomeBenz ShoppingBenzSociety ShowBenz Option ClassifiedsWebboardOffice
Import CarsShow RoomCar Service •  Wheels & Tires  •  Car stereoHome/CondoGolf Society Benz TravelEntertainment
          » เทคนิคคนรักรถ » การทำง...


  การทำงานของ...แบตเตอร์รี่
    [ 24/02/2009 ] - [ 1767 ]
 
การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่ในครั้งแรกสุดหรือครั้งใด ๆ ไม่ใช่เป็นการประจุจากไดชาร์จ ควรใช้วิธีชาร์จช้า ประมาณ 5-10 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้แบตเตอรี่ไม่เสื่อมสภาพง่าย แต่ทางร้านมักใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบบริการลูกค้า และจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้น
มีอายุไม่มาก ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย

อายุการใช้งานแบตเตอรี่ 1.5-3 ปี
แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5-3 ปี เท่านั้น โดยดูได้จากตัวเลขที่ตอกลง บนตัวแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีการตอกเอง โดยปกติ เมื่อเกิน 1.5-2 ปี ก็ถือว่า คุ้มค่าแล้วสำหรับแบตเตอรี่ทั่วไปที่ผลิตในประเทศและจำหน่ายในราคาลูกละ 1,000 กว่าบาท

เมื่อเกินอายุ 2-2.5 ปี ถ้ากังวลให้ถือโอกาสเปลี่ยนก่อนก็ไม่สิ้นเปลืองมากนัก แบตเตอรี่-แอมป์สูง มักมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรคำนึงถึงขนาดของฐานที่จะวางลงไป เมื่อแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากถึงกับดัดแปลงฐานที่จะวาง หากไม่ต้องการแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงมากจริง ๆ เลือกขนาดเท่าที่พอจะวางได้ก็พอ

ชนิด
มี 2 ชนิดหลัก คือ แบตเตอรี่แบบเปียก และแบบแห้ง
แบบเปียก (ใช้กันส่วนใหญ่) แบ่งเป็น 2 แบบย่อย คือ ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อย (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และแบบดูแลไม่บ่อย (MAINTAINANCE FREE) กินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบจะมีฝาปิดเปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งาน ประมาณ 1.5-3 ปี
แบบแห้ง ทนทาน ราคาแพง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานมากกว่าแบบเปียก ประมาณ 3-6 เท่าหรือประมาณ 5-10 ปี

ขี้เกลือขั้วแบตเตอรี่
อาจมีการขึ้นขี้เกลือ ซึ่งช้ามาก และทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าด้อยลง การทำความสะอาดที่ดี ต้องถอดขั้วออกและทำความสะอาดทั้งขั้วบนแบตเตอรี่และขั้วบนสายไฟฟ้า พร้อมเคลือบด้วยจาระบีหรือน้ำมันเครื่อง
ถ้าไม่มีความรู้เชิงกลไก ใช้น้ำอุ่นราดผ่านก็เพียงพอในระดับหนึ่ง

แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่งผลิตไฟฟ้า แต่เป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เลือกไม่ยุ่ง ดูแลไม่ยาก และไม่แพง แต่มีรายละเอียดไม่น้อย

แบตเตอรี่รถยนต์ไม่เหมือนถ่านไฟฉาย ไม่เหมือนถ่านแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ (ที่มีแต่การใช้ไฟฟ้าออกไปอย่างเดียว เมื่อหมดแล้วก็ต้องเปลี่ยนทิ้ง)
โดยเป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เมื่อเครื่องยนต์ติดและถูกใช้งาน ก็จะมีการประจุไฟฟ้าเพิ่ม และถูกใช้งานออกไปหมุนเวียนกัน เติมประจุไฟฟ้าเข้า-ออกจากแบตเตอรี่อยู่เสมอ มิได้ใช้ออกตลอดเวลาจนกว่าไฟจะหมด

ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดต้องนับว่าเป็นความผิดปกติ ไม่ใช่หมดแบบถ่านไฟฉายทั่วไป
มี 2 กรณี คือ หมดเพราะเก็บไฟไม่อยู่-แบตเตอรี่หมดอายุ (หลังใช้แบตเตอรี่ไป 1.5-3 ปี) หรือระบบไดชาร์จบกพร่อง

รถยนต์ที่ใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมด สภาพและระบบไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่ไม่มีการหมดโดยมีการประจุและใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนกันตลอด แบตเตอรี่มีการใช้ไฟออกอย่างเดียวเฉพาะช่วง สตาร์ทเครื่องยนต์ ที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ไดสตาร์ทและระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ไดชาร์จ (หรือยุคใหม่เป็นอัลเตอร์เนเตอร์ แต่ก็ยังเรียกรวมว่าไดชาร์จ) ก็จะทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง
โดยมีคัตเอาต์ (ทั้งแบบแยกหรือแบบรวมกับตัวไดชาร์จ) ทำหน้าที่ควบคุมการตัดการประจุ เมื่อไฟฟ้าเต็มแบตเตอรี่และประจุต่อเมื่อไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไม่เต็มหรือพร่องลง

ไดชาร์จ = อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อถูกหมุนด้วยเครื่องยนต์/ผลิตไฟฟ้าเมื่อถูกหมุน
ไดสตาร์ท = อุปกรณ์ไปรับกระแสไฟฟ้าเข้าไปเพื่อสตาร์ทหมุนเครื่องยนต์แล้ว ก็หมดหน้าที่/รับกระแสไฟฟ้า เพื่อหมุนตัวเองและเครื่องยนต์
หากงงให้เปรียบเทียบดังนี้
บ้านที่มีการใช้น้ำ = รถยนต์-เครื่องยนต์ที่มีการใช้ไฟฟ้า
ปั๊มน้ำ = ไดชาร์จซึ่งทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าโดยมีการแปรผันตามรอบเครื่องยนต์ด้วยรอบต่ำ หรือจอดเดินเบาก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่จนกว่าจะถึงรอบปานกลางขึ้นไป
ถังน้ำสำรอง = แบตเตอรี่ เมื่อปั๊มยังไม่ทำงานหรือทำงานแต่ไม่เพียงพอ (ไดชาร์จหมุนช้า หรือใช้ไฟฟ้ามาก ๆ เช่นตอนกลางคืน เปิดแอร์ ไฟหน้า เครื่องเสียงชุดใหญ่และที่ปัดน้ำฝน) เริ่มต้นด้วยการจ่ายน้ำเข้าสู่บ้าน (เครื่องยนต์ถูกสตาร์ทด้วยไดสตาร์ท) จากถังน้ำสำรอง (แบตเตอรี่) โดยปั๊มน้ำ (ไดชาร์จ) ยังไม่ทำงาน เมื่อเข้าสู่ระบบปกติ (เครื่องยนต์ทำงานแล้ว)
ปั๊มน้ำ (ไดชาร์จ) ก็ทำงานคอยส่งน้ำเข้าบ้าน พร้อมกับเสริมกลับเข้าสู่ถังน้ำสำรองที่พร่องลง ซึ่งก็แล้วแต่ว่าในตอนนั้นมีการใช้น้ำมากหรือน้อยกว่ากำลังการปั๊มในตอนนั้น เช่น ถ้าปั๊มน้อย (ไดชาร์จหมุนรอบต่ำ-รถยนต์จอดนิ่ง) แต่มีการใช้น้ำมากกว่าการปั๊มก็ต้องดึงน้ำมาจากถังสำรองมาใช้ควบคู่กัน เมื่อปั๊มแรงขึ้น (ไดชาร์จหมุนเร็ว) มีน้ำที่เหลือจากใช้งานแล้ว ก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังถังสำรองที่พร่องลง จนกว่าจะเต็ม

ถ้าเป็นไปตามวงจรนี้ไปเรื่อย ๆ ก็คือ เมื่อปั๊มได้เกินความต้องการและส่งกลับเข้าถังน้ำสำรองเต็ม (แบตเตอรี่) ปั๊มน้ำก็จะตัดการทำงาน (ไดชาร์จตัด โดยยังหมุนอยู่แต่ตัด ระบบการประจุไฟฟ้า ด้วยคัตเอาต์แบบในหรือนอกตัว) จนเมื่อ ๆ ใดที่ปั๊มไม่ทันหรือมีการใช้น้ำมากกว่าการปั๊ม ก็จะดึงน้ำจากถังสำรองมาใช้

ดังนั้นการที่มีถังน้ำสำรองใหญ่ ๆ ไว้จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะเท่ากับว่ามีกำลังไฟฟ้าสำรอง ไว้มากไม่ได้กินแรงปั๊ม (ไดชาร์จ) หรือทำให้ปั๊มทำงานหนักขึ้นแต่อย่างไร ปั๊มจะทำงานหนัก ก็ต่อเมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้ามากเกินกำลังของไดชาร์จอยู่เกือบหรือตลอดเวลา
 
[ ส่งหน้านี้ให้เพื่อน ]                          
 


  รายการบทความ
สารพัน.ยางรถยนต์... ควรรู้ ..
ทำอย่างไร..เมื่อต้องขายรถตัวเอง ..
10 สัญญาณเตือนภัยของรถคุณ ..
ยางระเบิด ..ปัญหาร้ายแรงที่สุดขณะขับรถ ..
การดูแลรักษาเครื่องยนต์..ระยะเวลา/ระยะทาง ..
เกร็ดความรู้เ....มื่อขับรถยนต์ลุยน้ำ ..
ความรู้เรื่อง ...น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ..
เกร็ดความรู้น้ำมันเครื่อง... เรื่องมาตรฐานน้ำมันเครื่อง ..
ความรู้เรื่อง ..น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ..
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ...รถควันดำ ..
การทำงานของ...แบตเตอร์รี่ ..
เกร็ดความรู้...เกียวกับน้ำมันเครื่อง ..
การขับรถยนต์ให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ..
ภัยที่เกิดขึ้นจากขวดนำดื่มในรถ ..
การดูแลรักษารถกับการเตรียมพร้อมเมื่อเข้า...ฤดูฝน ..
ดูทั้งหมด »